A study and analysis heat treatment process behavior of low silver alloys 58.33 wt% AgCuSn
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการอบชุบด้วยกระบวนการทางความร้อนของโลหะเงิน เจือต่ำ58.45wt%Ag +41.55wt%Cu โดยทำการเปรียบเทียบกับสมบัติของโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 และโลหะเงินเจือต่ำ 58.33% เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะในหาการปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลและโครงสร้าง จุลภาคของโลหะเงินเจือต่ำที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตเครื่องประดับ
ผลจากการศึกษาโลหะเงิน 58.33 % ที่อัตราส่วนผสม 58.33Ag+36.66Cu+5.01Sn ซึ่งมี ค่าคุณสมบัติเชิงกลจากการทดสอบเบื้องต้นมีค่าเหมาะสมที่สุด จากนั้นท่าการศึกษาค่าความแข็งแรงดึง สูงสุดแบบเส้นลวดพบว่ามีค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดเท่ากับ 0.36 MPa, ค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัว 0.11% เมื่อท่าการอบที่อุณหภูมิ 650 °C เวลาในการอบ 10 นาที ซึ่งปล่อยให้ชิ้นงานเย็นตัวในอากาศที่ อุณหภูมิห้องปกติ และค่าความแข็งจากการทดสอบมีค่าสูงสุดเท่ากับ 105.12 HV อบที่อุณหภูมิ 600 °C เวลาในการอบ 10 นาที ซึ่งปล่อยให้ชิ้นงานเย็นตัวในอากาศที่อุณหภูมิห้องปกติ ศึกษาโครงสร้างจุลภาค ของโลหะเงินเจือต่ำ 58.33Ag+41.57Cu+0.10Sn เมื่อท่าการอบปรับปรุงคุณสมบัติทางความร้อนและการ ชุบแข็งแบต่างๆ พบว่าโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานทดสอบหลังปล่อยให้เย็นตัวในอากาศ เกิดการ เปลี่ยนแปลงจาก β phase ที่มีขนาดเล็กลงเป็นโครงสร้าง Eutectic phase ที่มี α -phase และ β - phase ขนาดเล็กและละเอียด ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับโครงสร้างจุลภาคของเฟสไดอะแกรมสมดุลโลหะ เงิน-ทองแดง
ผลจากการทดลองและวิเคราะห์หาค่าคุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงานทดสอบและโครงสร้างจุลภาค ที่ได้จากการทดลองในสภาวะต่างๆ มีค่าที่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องประดับเงินตามมาตรฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับ ทั้งของในประเทศและต่างประเทศ
Collections
- Research Report [286]