Show simple item record

dc.contributor.authorPromsri, Chaiyaseten_US
dc.date.accessioned2018-07-09T07:02:34Z
dc.date.available2018-07-09T07:02:34Z
dc.date.issued2018-07-09
dc.identifier.urihttp://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2508
dc.descriptionรายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวชี้วัดความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติของประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ”มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดทางด้านความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Analysis) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบและตัวชี้วัดทางด้านความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งหมด 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 มีค่า Eigenvalue 22.270 มีค่า Factor Loadings 0.626 - 0.760 อยู่ระหว่าง ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 11 ตัวแปร สามารถกำหนดชื่อองค์ประกอบได้เป็น ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยหรือตัวชี้วัด 2 ตัว ได้แก่ ความรู้ และ ทัศนคติ องค์ประกอบที่ 2 มีค่า Eigenvalue 2.491 มีค่า Factor Loading 0.596 - 0.696 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 12 ตัวแปร สามารถกำหนดชื่อองค์ประกอบได้เป็น การฝึกอบรมและพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยหรือตัวชี้วัด 3 ตัว องค์ประกอบที่ 3 มีค่า Eigenvalue 1.821 มีค่า Factor Loadings 0.643 - 0.777 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 9 ตัวแปร สามารถกำหนดชื่อองค์ประกอบได้เป็น การสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยหรือตัวชี้วัด 5 ตัว ได้แก่ การทำป้ายประชาสัมพันธ์ การเล่าเรื่อง การใช้เกม การใช้สถานการณ์เสมือนจริง และ การได้รับประสบการณ์ตรง องค์ประกอบที่ 4 มีค่า Eigenvalue 1.365 มีค่า Factor Loadings 0.657 - 0.760 ประกอบด้วยตัวแปรทั้งหมด 8 ตัวแปร สามารถกำหนดชื่อองค์ประกอบได้เป็น ครอบครัวและชุมชน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยหรือตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่ การทำการพูดคุยแลกเปลี่ยนในครอบครัว และ ความผูกพันกับชุมชนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของen_US
dc.description.sponsorshipRajamangala University of Teehnology Phra Nakhonen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectdevelopmenten_US
dc.subjectbangkok metropolitanen_US
dc.subjectภัยพิบัติen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectพัฒนาการen_US
dc.subjectDisasteen_US
dc.titleIndictors development for disaster preparedness awareness of people in bangkok metropolitan and vicinityen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาตัวชี้วัดความตระหนักรู้ต่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติของประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลen_US
dc.typeResearch Reporten_US
dc.contributor.emailauthorchaiyaset.p@rmutp.ac.then_US
dc.contributor.emailauthorarit@rmutp.ac.th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record