การผลิตแผ่นผนังภายในอาคารที่ทำจากวัสดุเหลือทิ้งจากต้นสบู่ดำ
View/ Open
Date
2014-06-27Author
Choosit, Pakamas
Kudngaongarm, Phanudej
เกษมชัย บุญเพ็ญ
Metadata
Show full item recordAbstract
ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเอาต้นสบู่ดา ไปผลิตเป็นแผ่นผนัง ซึ่งเป็นการนาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่าน่าจะนาเอาพืชดังกล่าวไปผลิตเป็นแผ่นผนังภายในอาคารแล้วทดสอบตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก. 876-2547)ได้แก่ การทดสอบหาค่าความชื้น ความหนาแน่น การดูดซึมและการพองตัวเมื่อแช่น้า หาค่าแรงยึดเหนี่ยวภายใน หรือแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า และทดสอบหาค่าความต้านทานแรงดัดและมอดูรัสยืดหยุ่น โดยทาการทดลองที่สัดส่วนระหว่างต้นสบู่ดากับกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮล์ที่ 85:15, 87:13, 89:11, 91:9, 93:7 และ 95:5 ผลการทดลองพบว่า ขนาดของสบู่ดาที่ใช้อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นควรไม่เกิน 2 ซม. สัดส่วนที่เหมาะสม ได้แก่ 89:11 (สัดส่วนระหว่างต้นสบู่ดา 89%ผสมกับกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮล์ 11 %) อุณหภูมิที่ใช้ในการอัดอยู่ที่ 120 องศาเซลเซียส ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอัดแผ่นเท่ากับ 0.80 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ปริมาณความชื้นก่อนอัดเฉลี่ยอยู่ที่ 8.89% แรงอัดที่เหมาะสมอยู่ที่ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ค่าความชื้นอยู่ 7.64%ค่าความหนาแน่น อยู่ที่ 0.817กรัมต่อลบ.ซม. การพองตัวเมื่อแช่น้าที่ 2 ชม. อยู่ที่ 8.01% การดูดซึมน้าเมื่อแช่น้าที่ 2 ชม อยู่ที่ 14.22% แรงยึดเหนี่ยวภายในอยู่ที่ 0.56 MPa เมกกะปาสคาล ค่าความต้านทานแรงดัด อยู่ที่ 22.36เมกกะปาสคาล(MPa) ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นอยู่ที่ 2112 เมกกะปาสคาล (MPa) ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นปาร์ติเคิลบอร์ด (มอก. 876-2547) กล่าวโดยสรุปคือต้นสบู่ดาสามารถนาไปผลิตเป็นแผ่นผนังภายในอาคารได้
URI
http://repository.rmutp.ac.th/123456789/1309http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/1309
Collections
- Research Report [111]