Woven design of modern to applied with home textile product of weaving community Phaihochang Temple Banglane district Nakorn province
View/ Open
Date
2014-12-17Author
Sasongkoah, Taweesak
Yanwiroj, Kanyum
Klaichoi, Charoon
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบลวดลายผ้าทอแบบร่วมสมัยสาหรับการประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ ชุมชนทอผ้าวัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญา และศักยภาพทางการผลิตของชุมชน ซึ่งประชากรกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเรื่องนี้คือ ชุมชนทอผ้าวัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ผลการวิจัยเรื่องนี้พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และทอผ้า พื้นเมืองเป็นอาชีพรอง กลุ่มชุมชนทอผ้าวัดไผ่หูช้าง มีความต้องการพัฒนารูปแบบตามแนวคิดลวดลายผ้าทอแบบร่วมสมัย ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกลุ่มทอผ้ากับผู้วิจัยเพื่อส่งผลให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งพบว่าลวดลายผ้าทอแบบร่วมสมัย ต้องมีรูปแบบที่ผลิตง่ายไม่ซับซ้อน มีลักษณะการทอผ้า เป็นลายขัดที่เหมาะสมกับการทอผ้าพื้นบ้านของชุมชน และบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชุมชน
ลักษณะลวดลายของผ้าทอใช้แนวคิดการออกแบบลวดลายเน้นแนวคิดด้านการใช้ชีวิต หรือถิ่น
กำเนิดของรากเหง้าชุมชน ประกอบไปด้วย ลวดลายเฉียง ลวดลายเกร็ดปลา ลวดลายดาว ลวดลายน้า
ลวดลายภูเขา โดยเน้นเอกลักษณ์ที่เด่นของผ้า “ลายแตงโม” ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองตำบลไผ่หูช้าง ในลักษณะการมัดหมี่ โดยการมัดด้ายพุ่งเพื่อสร้างช่วงของสีต่างๆให้เกิดขึ้นในเส้นด้ายพุ่ง โดยใช้สีดาหรือสีกรมท่า เป็นสีหลักในการออกแบบลวดลาย
Collections
- Research Report [93]