Physical settings, sense of place, safety perception and quality of life: a case study of buildings in rmutp
Abstract
ความรู้สึกไม่ปลอดภัยอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ด้านสังคม และความรู้สึกไม่
หวงแหนต่อสถานที่ ( Lack in Sence of Place ) ให้แก่ผู้ที่ใช้พื้นได้ สภาวะดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิด
การก่อให้เกิดอาชญากรรม การวิจัยนี้ต้องการพิสูจน์ว่ามีปัจจัยทางกายภาพอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดความ
รู้สึกต่อสถานที่ ( sense of place ) ความรู้สึกปลอดภัย และคุณภาพชีวิต โดยศึกษาลักษณะทาง
กายภาพอาคารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แบ่งพื้นที่ให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน
ทางกายภาพเป็น 2 กลุ่มประเภทอาคารจาก 5 วิทยาเขต
โดยมีจุดประสงค์การวิจัยเพื่อ หนึ่งศึกษาปัจจัยของทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการรับรู้สถาน
ที่ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต สองศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางด้าน
บุคคลต่อการรับรู้ สามสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ และเสนอแนะแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อม
ซึ่งในการวิจัยใช้ทฤษฎี หลักการออกแบบชุมชน, การรับรู้ (ทฤษฎี เกรสตอล) และการจัดการสภาพ
แวดล้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแปรและวิธีการในการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้แปลงตัวแปรเชิงทฤษฏีสู่ตัวแปร
เชิงปฎิบัติการจากนั้นจึงนำไปใช้สร้างเครื่องมือในการวิจัย โดยเครื่องมือแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน
ในส่วนแรกเป็นแบบสำรวจลักษณะทางกายภาพของอาคาร ( PHYSICAL MEASUREMENT ) ตาม
การแบ่งพื้นที่เพื่อสำรวจสิ่งแสดงความเป็นเจ้าของและความไม่ศิวิไลย์ ในส่วนที่สองคือแบบสอบถาม
เพื่อวัดระดับการรับรู้ความรู้สึกปลอดภัย ( QUESTIONNAIRE ) และส่วนที่สามคือการวัดระดับ
ลักษณะกายภาพ ( OBSERVATION MAPPING ) จากนั้นการวิจัยจะเชื่อมโยงระหว่างลักษณะทาง
กายภาพทั้งสองประเภทกลุ่มอาคารจาก 5 วิทยาเขต (วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขต
Iพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วิทยาเขตพระนครเหนือ ) กับการรับรู้ความรู้สึก
ปลอดภัย ความเป็นสถานที่ และคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
Collections
- Research Report [120]