Learning media needs in education digital age of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
View/ Open
Date
2561-08-20Author
Porncharoen, Rungaroon
Peerawanichkul, Umpaporn
รุ่งอรุณ พรเจริญ
อัมภาภรณ์ พีรวณิชกุล
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะรายวิชาที่เกี่ยวกับการทฤษฎีและการปฏิบัติในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยจำแนกตามเพศ และคณะที่กำลังศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 9 คณะ จำนวน 380 คน ซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและในแต่ละชั้นภูมิใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรแปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทำไปทดสอบเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พบว่า ความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะรายวิชาที่เกี่ยวกับการทฤษฎี และการปฏิบัติ ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละลักษณะรายวิชาทฤษฎี พบว่า ความต้องการสื่อการเรียนรู้ในการศึกษายุคดิจิทัล อันดับที่ 1 สื่อการสอนและเทคโนโลยีเว็บ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI , E-book และ E-Learning อันดับที่ 2 สื่อสังคม ได้แก่ YouTube, Google+ และ Google Classroom และอันดับที่ 3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แบบจำลองสถานการณ์, Tablet และหุ่นจำลอง
สำหรับลักษณะรายวิชาปฏิบัติ พบว่า ความต้องการสื่อการเรียนรู้ในการศึกษายุคดิจิทัล อันดับที่ 1 สื่อสังคม ได้แก่ Facebook, Google Classroom และYouTube อันดับที่ 2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ E-Training, E-Learning และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI และอันดับที่ 3 สื่อการสอนและเทคโนโลยีเว็บ ได้แก่ หุ่นจำลอง, แบบจำลองสถานการณ์ และเกมส์ Kahoot, กระดานอัจฉริยะ
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะรายวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ และการทฤษฎี ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยจำแนกตามเพศ คณะที่กำลังศึกษา พบว่า ความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะรายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำแนกตามเพศ โดยรวม
ข
และรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่มีลักษณะ
รายวิชาทฤษฎีและปฏิบัติ ในการศึกษายุคดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
จำแนกตามคณะที่กำลังศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อ
พิจารณารายด้าน พบว่า สื่อการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติที่ระดับ
0.05
Collections
- Research Report [111]