กลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ของแรงงานนอกระบบภาคบริการ กรณีศึกษากลุ่มคนขับรถแท็กซี่ เขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตการทางานและความต้องการทางสังคม ของกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ รวมทั้งศึกษากลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทางานของกลุ่ม
คนขับรถแท็กซี่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ เขตกรุงเทพมหานคร จานวนกลุ่มตัวอย่าง 384 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย โดยการสนทนากลุ่ม
รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนกลุ่มคนขับรถแท็กซี่และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา การตีความและพรรณนาความจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตการทางานและความต้องการทางสังคมของกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ พบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 40 – 49 ปี สมรสแล้วมีบุตร
และภาระที่ต้องดูแลรับผิดชอบครอบครัว ประกอบด้วยพ่อ แม่และลูก 1-2 คน ลักษณะเป็นครอบครัวขนาดเล็กที่มีสมาชิกน้อยกว่า 5 คน มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเช่า จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
มีภูมิลาเนาอยู่ต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่อยู่ระหว่าง 4 – 6 ปี สภาพความเป็นเจ้าของรถแท็กซี่ส่วนมากเป็นรถเช่า ประเภทรถแท็กซี่นิติบุคคลมากสุด ได้แก่ สหกรณ์รถแท็กซี่ รองลงมาเป็นรถแท็กซี่สังกัดบริษัทห้างร้าน และน้อยสุดเป็นรถแท็กซี่ส่วนบุคคล (เขียวเหลือง) ด้านคุณภาพชีวิตการทางาน พบว่าส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 12,000– 15,000 บาท ไม่มีความมั่นคงและความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่มีการ ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการหยุดพักผ่อนและรับประทานยา ส่วนการรักษาพยาบาลตนเองด้วยการซื้อ ยาทานมากที่สุด รวมทั้งไม่เคยมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นจากกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ ไม่เคย
ได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ และเคยมีปัญหาหรือความขัดแย้งมากที่สุดกับผู้รับบริการ ส่วนใหญ่พบว่ามีความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ ด้านความต้องการทางสังคม พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความต้องการอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.36 โดยเฉพาะความต้องการมีชีวิตอยู่รอดมีระดับความต้องการมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นความต้องการความเจริญก้าวหน้า และความต้องการความสัมพันธ์กับผู้อื่นตามลาดับ
2. กลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทางานของกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ พบว่ามี 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านนโยบายมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยเฉพาะการขยายความคุ้มครองการ
ประกันสังคมของคนขับรถแท็กซี่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม การสนับสนุนและพัฒนา ความมั่นคงทางรายได้ของคนขับรถแท็กซี่ และการส่งเสริมการ จัดตั้งกองทุนสารองเลี้ยงชีพของ
คนขับรถแท็กซี่ (2) ด้านการดาเนินงาน ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ทางอาชีพของคนขับรถ แท็กซี่ให้เข้าถึงการรับบริการ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคนขับรถแท็กซี่เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพทั้งที่เป็นอาชีพหลักและอาชีพรอง และการจัดทาฐานข้อมูลที่เข้าถึงปัญหาความต้องการและสวัสดิการ ความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ของคนขับรถแท็กซี่ และ (3) ด้านการบริหารจัดการ เช่น การสนับสนุนด้านงบประมาณการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการทางอาชีพของคนขับรถแท็กซี่ การจัดทามาตรการความเสี่ยงและความคุ้มครองในอาชีพคนขับรถแท็กซี่และการบูรณาการด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับให้เอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการอาชีพของคนขับรถแท็กซี่
Collections
- Research Report [153]