A study and analysis influence of copper and ting alloying element onto mechanical properties and microstructure of low silver alloys 58.33 wt% AgCuSn
View/ Open
Date
2015-11-13Author
Kosiyakanont, Supatra
Thepjaree, Bongkoch
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของโลหะเงินเจือต่า 58.33% ที่มีธาตุทองแดง (Cu) และดีบุก
(Sn) เป็นธาตุผสม ซึ่งมีปริมาณการผสมอยู่ในช่วงระหว่าง 36.66 - 41.57% และ 0.10-5.01% ตามล่าดับ
โดยท่าการเปรียบเทียบกับสมบัติของโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 และโลหะเงินเจือต่า 58.33% เพื่อศึกษา
วิเคราะห์อิทธิพลของธาตุเจือทองแดงและดีบุกที่มีผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาของโลหะเงินเจือ
ต่า 58.33 wt% AgCuSn และหาปริมาณของธาตุเจือทองแดงและดีบุกที่เหมาะสมในการผลิต
เครื่องประดับเงินเจือต่า 58.33%
ผลจากการศึกษาโลหะเงินเจือต่า 58.33 % ที่ประกอบด้วยเงิน (Ag) และทองแดง (Cu) เมื่อ
น่ามาเปรียบเทียบกับโลหะเงินสเตอร์ลิง 925 จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าโลหะเงินผสมเจือต่า
58.33Ag + 36.66Cu +5.01Sn มีค่า Yield Strength 195.2 Mpa, Ultimate tensile strength
345.25 MPa, Breaking point 301 MPa และ Elongation 61.58 % ซึ่งเป็นอัตราส่วนผสมของแต่ละ
ธาตุที่เหมาะสมที่สุด ค่าความแข็งของโลหะเงินเจือต่า 58.33Ag + 41.57Cu + 0.10Sn มีค่าความแข็ง
น้อยที่สุด เท่ากับ 93.03 HV ซึ่งปริมาณดีบุก (Sn) ที่ผสมเข้าไปในอัตราส่วน 0.10Sn จะท่าให้โครงสร้าง
ของเงินเจือต่า เป็น β-phase เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก β phase ที่มีขนาดเล็กลงเป็นโครงสร้าง
Eutectic phase ที่มี α-phase และ β-phase ขนาดเล็กและละเอียด
ผลจากการวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีของโลหะเงินเจือต่า 58.33% พบว่าส่วนผสมทางเคมี
ของโลหะเงินเจือต่าในแต่ละอัตราส่วนผสมมีสัดส่วนของธาตุใกล้เคียงกับอัตราส่วนผสมจริง จึงท่าให้โลหะ
เงินเจือต่าที่ได้ท่าการทดลองมีค่าที่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องประดับเงินตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
การผลิตเครื่องประดับทั้งของในประเทศและต่างประเทศ
Collections
- Research Report [153]