dc.contributor.author | Pornchanroen, Rungaroon | en_US |
dc.contributor.author | Peerawanichkul, Umpaporn | en_US |
dc.contributor.author | Morjai, Wuttichai | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งอรุณ พรเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | อัมภาภรณ์ พีรวณิชกุล | en_US |
dc.contributor.author | วุฒิชัย เหมาะใจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-10-17T09:15:28Z | |
dc.date.available | 2017-10-17T09:15:28Z | |
dc.date.issued | 2017-10-17 | |
dc.identifier.uri | http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2213 | |
dc.description | รายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มอาชีพของแรงงานกับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานกับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สถานประกอบที่นักศึกษาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมออกฝึกงานทางวิชาชีพ ในภาคเรียนที่ ฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558 ทั้ง 5 สาขาวิชา จำนวน 30 บริษัท/โรงงาน และสถานศึกษาที่นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 สถานศึกษา ซึ่งทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างที่มีต่อบัณฑิต และแบบสอบถามสอบความต้องการสมรรถนะที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน พบว่า หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เมื่อนักศึกษาจบไปสามารถไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการระดับความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างที่มีต่อบัณฑิต ซึ่งหลักสูตรที่ผู้บังคับบัญชา/ผู้จ้างที่มีต่อบัณฑิตมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามลำดับ
2. ผลการวิเคราะห์แนวโน้มอาชีพของแรงงานกับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พบว่า ยุคการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 มีการนำระบบดิจิตอลเป็นหัวใจสาคัญ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากโรบอติก เชื่อมโยงโลก ต้องการแรงงานทักษะ แต่ลดการใช้แรงงานทั่วไป ตาม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เกี่ยวกับหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมดิจิทัล
3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานกับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พบว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรที่ทันสมัย มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในเนื้อหาวิชา เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเน้น Soft Skill เพื่อทันต่อสังคมในปัจจุบัน เน้นคุณธรรมจริยธรรม มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที | en_US |
dc.description.sponsorship | Rajamangala University of Technology Phra Nakhon | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | Industry | en_US |
dc.subject | Target market | en_US |
dc.subject | การพัฒนาอุตสาหกรรม | en_US |
dc.subject | ตลาดแรงงาน | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรม | en_US |
dc.subject | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร | en_US |
dc.title | Study of target market to enter industry 4.0 for industrial education Rajamangala University of Technology PhraNakhon | en_US |
dc.title.alternative | การศึกษาวิจัยตลาดแรงงานกับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.พระนคร | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
dc.contributor.emailauthor | rung_koys@hotmail.com | en_US |
dc.contributor.emailauthor | umpaporn.p@rmutp.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailauthor | wuttichai.mo@rmutp.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailauthor | arit@rmutp.ac.th | en_US |