dc.contributor.author | Porncharoen, Rungaroon | en_US |
dc.contributor.author | รุ่งอรุณ พรเจริญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-10-17T09:32:35Z | |
dc.date.available | 2017-10-17T09:32:35Z | |
dc.date.issued | 2017-10-17 | |
dc.identifier.uri | http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2214 | |
dc.description | รายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม 2) หาประสิทธิภาพของโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศระหว่างการสอนที่ใช้โปรแกรมจำลองกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาวิศวกรรมสายอากาศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน และนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนวิชาวิศวกรรมสายอากาศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557จำนวน 13 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ดังนี้ กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และกลุ่มควบคุม คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้โปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม พบว่า โปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ส่วนของการป้อนและการแสดงผลของโปรแกรม ทฤษฎีพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของสายอากาศ
2. ผลการประสิทธิภาพของโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม พบว่า โปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.13/82.67
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศระหว่างการสอนที่ใช้โปรแกรมจำลองกับการสอนแบบปกติ พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนจากโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้การสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.sponsorship | Rajamangala University of Technology Phra Nakhon | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | Analysis of parameters | en_US |
dc.subject | Antenna | en_US |
dc.subject | Telecommunication engineering | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ | en_US |
dc.subject | สายอากาศ | en_US |
dc.subject | วิศวกรรมโทรคมนาคม | en_US |
dc.title | Development of simulated program for analysis of parameters of antenna for applying telecommunication engineering education | en_US |
dc.title.alternative | การพัฒนาโปรแกรมจำลองการวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของสายอากาศสำหรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
dc.contributor.emailauthor | rung_koys@hotmail.com | en_US |
dc.contributor.emailauthor | arit@rmutp.ac.th | en_US |