ASEAN electricity co-operation: the effect of import and export on price
View/ Open
Date
2018-07-02Author
Boonyasana, Kwanruetai
Rungrodruttanagorn, Suveena
Gutierrez, Julia
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษาเรื่อง “ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าของอาเซียน: ผลกระทบจากการนาเข้าและการส่งออกพลังงานไฟฟ้าต่อราคาค่าไฟฟ้า” มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาสภาพการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน เพื่อหาผลกระทบจากการนาเข้าและส่งออกพลังงานไฟฟ้าต่อราคาค่าไฟฟ้า ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมของอาเซียน และเพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) สาหรับข้อมูลในเชิงปริมาณทาการศึกษาโดยการวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time Series Analysis) สาหรับข้อมูลในเชิงคุณภาพทาการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview technique) โดยใช้แนวสัมภาษณ์ (interview guide) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (key Informants) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบระดับสูงในโครงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากอาเซียน กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านพลังงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและมาเลเซีย และบริษัทเอกชนที่ผลิตหรือจาหน่ายพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคนี้
ผลการวิเคราะห์อนุกรมเวลา รายเดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่า ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศเพิ่มขึ้น 1% จะทาให้ต่อราคาค่าไฟฟ้าขายส่งลดลง 0.08% ปริมาณการนาเข้าพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1% จะทาให้ต่อราคาค่าไฟฟ้าขายส่งเพิ่มขึ้น 0.03% ในขณะที่ปริมาณการส่งออกพลังงานไฟฟ้าไม่มีอิทธิพลต่อราคาค่าไฟฟ้าขายส่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2559 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหกองค์กรเห็นด้วยว่า ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศจะไปสู่การลดต้นทุนการผลิตค่าไฟฟ้า การลดราคาค่าฟ้าสาหรับผู้บริโภค และความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้ ประการที่หนึ่ง การซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศทาให้ประเทศไทยสามารถใช้พลังงานในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ประการที่สอง การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศทาให้ประเทศไทยสามารถสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของพลังงานไฟฟ้าตามฤดูกาลที่แตกต่างกัน ประการสุดท้าย การซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามกฎระเบียบที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความร่วมมือด้านพลังงาน หากมีการแก้ไขปัญหาสำคัญดังกล่าวเพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการเจรจาต่อรองทางการค้า จะทาให้ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิตค่าไฟฟ้า การลดราคาค่าฟ้าสาหรับผู้บริโภค และความมั่นคงด้านพลังงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Collections
- Research Report [270]