Show simple item record

dc.contributor.authorBoonyasana, Kwanruetaien_US
dc.contributor.authorThirapattanapokin, Napapachen_US
dc.date.accessioned2018-07-07T06:01:47Z
dc.date.available2018-07-07T06:01:47Z
dc.date.issued2018-07-07
dc.identifier.urihttp://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/2499
dc.descriptionรายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษา ในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการในเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลภาคตัดขวางที่เก็บรวบรวมจากแบบสอบถาม ในปี พ.ศ. 2558 จากนักเรียนมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 6 และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่มีความสนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จานวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน คือ ไคร์สแควร์ (Chi-Square Test) ทดสอบความแตกต่าง และไคร์สแควร์ (Chi-Square Test) ทดสอบความสัมพันธ์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 80.3 เพศชายคิดเป็นร้อยละ 19.7 ส่วนใหญ่มีอายุ 17-18 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ คิดเป็นร้อยละ 52.3 และส่วนใหญ่มีภูมิลาเนาห่างจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 73.0 ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นแม่บ้าน และ ประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวอยู่ในระดับยากจนถึงปานกลาง อีกทั้งยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อโฆษณา สื่อสารออนไลน์ และแบบปากต่อปากของคณะบริหารธุรกิจ ในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับมาก และให้ความสำคัญต่อสื่อประชาสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสถิติแบบ Chi-square โดยกาหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย ราชมงคลพระนคร ขึ้นกับการสื่อสารการตลาดโดยใช้ สื่อโฆษณา สื่อออนไลน์ และแบบปากต่อปาก ดังนั้น ทางคณะบริหารธุรกิจ จึงควรส่งเสริมและจัดสรรงบประมาณในการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการผ่านสื่อดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าสื่อชนิดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายสาหรับการรับนักศึกษาใหม่ในอนาคตen_US
dc.description.sponsorshipRajamangala University of Teehnology Phra Nakhonen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการสื่อสารการตลาดen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาen_US
dc.subjectการตัดสินใจen_US
dc.subjectMarketing communicationen_US
dc.subjectUniversities and collegesen_US
dc.subjectDecision makingen_US
dc.titleEffect of Integrated marketing communications on student decision making for choice of university: case study of faculty of business administrationen_US
dc.title.alternativeการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครen_US
dc.typeResearch Reporten_US
dc.contributor.emailauthorkwanruetai@live.comen_US
dc.contributor.emailauthornatwipa@windowslive.comen_US
dc.contributor.emailauthorarit@rmutp.ac.th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record