Guidelines for the design of souvenirs from woven line plastic fiber: ruean-thai jak-san group, sri-pran, sawang-ha, ang thong
View/ Open
Date
2020-09-12Author
Ruengsombat, Mayuree
มยุรี เรืองสมบัติ
Pigunthong, Darunrat
ดรุณรัตน์ พิกุลทอง
Srijantuek, Kiattipong
เกียรติพงษ์ ศรีจันทึก
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบของที่ระลึกจากเศษพลาสติกจักสานกลุ่นเรือไทยจัสานพลาสติก ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวต่างถิ่นจำนวน 50 คน และคนในท้องถิ่นจำนวน 50 คน ที่ต้องการซื้อสินค้าของที่ระลึกจากเศษพลาสติกจักสานกลุ่มเรือไทยจักสานพลาสติก จังหวัดอ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .854 วิเคราะห์ค่าสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจในด้านการใช้งานและในด้านการตลาดของที่ระลึกจากเศษพลาสติกจักสานทั้งในขั้นตอนการประเมินทางเลือกและในขั้นตอนการประเมินเปรียบเทียมกับของที่ระลึกรูปแบบเดิมโดยแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .839 และ .844 ตามลำดับวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test ชนิด Dependent Sample
ผลการวิจัยสรุปว่า
1. ผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์แนวทางที่ 1 เหมาะสำหรับฝากเจ้านาย แนวทางที่ 2 เหมาะสำหรับฝากญาติ และแนวทางที่ 3 เหมาะสำหรับฝากคนในครอบครัว
2. กลุ่มเป้าหมายเลือกผลงานออกแบบของที่ระลึกในแนวทางที่ 3
3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในของที่ระลึกรูปแบบใหม่มากว่ารูปแบบเดิมในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัยทางสถิติที่ระดับ.05 ผู้จำหน่ายมีความพึงพอใจมากกาว่ารูปแบบเดิมในเกือบทุกด้านยกเว้นด้านภาพลักษฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และของที่ระลึกใหม่มีประสิทธิภาพการใชงานได้มากกว่าของที่ระลึกรูปแบบเดิม
Collections
- Research Report [120]