Promoting the internet of things (IOT) through STEM education as a part of transforming to a digital University
Abstract
ตามที่รัฐบาลได้ให้ความสาคัญต่อการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมในนโยบายพัฒนากาลังคนภายในประเทศ โดยได้บูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ในการจัดการศึกษาในทุกระดับเพื่อมุ่งหวังในการผลิตกาลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้คนไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้นั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้กาหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและนโยบายของรัฐบาล โดยกาหนดยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University) ส่งผลให้มีการนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เฉกเช่นเดียวกับการนาเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) มาใช้ในงานวิจัยนี้ ด้วยเล็งเห็นถึงความสาคัญของการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและเทคโนโลยีดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการเรียนรู้เทคโนโลยี IoT ผ่านการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ส่วนคือ
1. ทางการเรียนการอบรมด้วยเทคโนโลยี IoT ผ่านการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาจานวน 17 หน่วยเรียนและทาการทดสอบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเทคโนโลยี IoT ด้วยสะเต็มศึกษาของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนจานวน 2 ครั้งซึ่งผลปรากฎว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้นหลังเรียนในทั้งสองครั้ง นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการเรียนทั้งสองครั้งโดยใช้ค่าสถิติ t-test dependent พบว่า ผลการสอบนักศึกษามีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (การทดสอบครั้งที่ 1 และ 2 มีค่า Sig.เท่ากันคือ .000) แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มส่งผลดีต่อคะแนนสอบของนักศึกษา
2. นักศึกษาสามารถพัฒนาโครงการสารสนเทศด้านเทคโนโลยี IoT ได้หลังจากอบรมเทคโนโลยี IoT ด้วยสะเต็มศึกษาจานวน 5 โครงการภายใต้คาแนะนาของอาจารย์ผู้สอนและประเมินคุณภาพโครงการด้วยการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากผู้เชี่ยวชาญสามคนและทุกโครงการได้ผลคะแนนคุณภาพอยู่ในระดับ “ดี”
3. การทดสอบเพื่อวัดเจตคติของนักศึกษาต่อการพัฒนาโครงการสารสนเทศหลังจากอบรมเทคโนโลยี IoT ด้วยสะเต็มศึกษา ผลปรากฎว่า นักศึกษา “เห็นด้วย” ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวโดยมีค่าระดับคะแนนที่ 4.21
จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้พัฒนา “โมเดลการพัฒนาโครงการสารสนเทศด้วยเทคโนโลยี IoT ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา” ซึ่งบูรณาการมาจากการเรียนรู้แบบสะเต็ม เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอีกด้วย
Collections
- Research Report [270]