dc.contributor.author | วงษ์ศรีษะ, สหรัตน์ | |
dc.contributor.author | ป๊อกเทิ่ง, สิงห์แก้ว | |
dc.date.accessioned | 2010-08-26T10:33:11Z | |
dc.date.available | 2010-08-26T10:33:11Z | |
dc.date.issued | 2010-08-26T10:33:11Z | |
dc.identifier.uri | http://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/530 | |
dc.description | รายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง และศึกษาเปรียบเทียบการผลิตถ่านเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ ประเภทซังข้าวโพดและใบไม้แห้งและวัสดุอื่น โดยผสมวัสดุเหลือใช้กับแป้งและน้ำในสัดส่วนต่างกัน ได้แก่ 93 : 4 : 3, 94 : 3 : 3, 95 : 3 : 2, 96 : 2 : 2 ตามลำดับ โดยผ่านกระบวนการทำให้วัสดุกลายเป็นคาร์บอน เริ่มจากการเผา การบด การผสม การอบ และการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์แท่งถ่าน และการถ่ายทอดผลงานวิจัยสู่ชุมชน เป็นการต่อยอดผลงานวิจัยให้สามารถใช้ประโยชนน์ได้จริง
ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งที่ผลิตได้นำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 100 – 120°C ภายใต้ระยะเวลาต่างกันที่ 6 ชม., 10 ชม., 15 ชม., และ 48 ชม. จากนั้นนำไปทดสอบเพื่อหาระยะเวลาการเผาไหม้ทดสอบเวลาน้ำเดือด และทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ จากผลการทดลองพบว่าถ่านอัดแท่งมีส่วนผสมต่าง ๆ กัน ได้ระยะเวลาในการให้ความร้อนถึงจุดเดือดของน้ำมีค่าใกล้เคียงกันอยู่ในช่วงระหว่าง 43.75 – 44.25 นาที ส่วนระยะเวลาการเผาไหม้อยู่ในช่วง 3.06 – 3.08 ชั่วโมง และผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ปรากฎว่าระยะเวลาถึงจุดเดือด และระยะเวลาการเผาไหม้แต่ละส่วนผสมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ฉะนั้นหากมีผู้ที่สนใจในการผลิตถ่านอัดแท่งขอแนะนำให้ใช้สัดส่วนการผสม 95 : 3 : 2 เพราะว่าให้ค่าความร้อนสูงที่สุด ส่วนคุณสมบัติด้านอื่นปรากฎว่ามีถ่านคงตัวสูงถึง 45.8 เปอร์เซ็นต์ สารระเหย 32.1 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่น 0.58 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น จึงสามารถนำวัสดุดังกล่าวมาผลิตเป็นถ่านเชื้อเพลิงเพื่อเป็นพลังงานทดแทนได้เป็นอย่างดี
ผลการต่อยอดงานวิจัยสู่ชุมชนปรากฎว่า ชุมชนสามารถผลิตถ่านพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือใช้เกิดการสร้างานในชุมชนมากขึ้น มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรในชุมชน หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ในนาม กลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้ผลิตถ่านอัดแท่ง อย่างเป็นทางการโดยหน่วยงายราชการ รายอำเภอ เกษตรอำเภอให้การรับรองและเป็นการสร้างงาน ลดการตัดไม้ในพื้นที่และในชุมชนต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.subject | การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ | en_US |
dc.subject | ถ่านอัดแท่ง | en_US |
dc.subject | วัสดุเหลือใช้ | en_US |
dc.subject | ถ่าน | en_US |
dc.title | การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อทดแทนถ่านจากไม้ | en_US |
dc.type | Research Report | en_US |
dc.contributor.emailauthor | saharat_w@rmutp.ac.th | en_US |
dc.contributor.emailauthor | arit@rmutp.ac.th | |