Show simple item record

dc.contributor.authorSakulyunyongsuk, Noppornen_US
dc.contributor.authorThedkwanchai, Sumapapen_US
dc.contributor.authorSaetang, Duangraten_US
dc.contributor.authorนพพร สกุลยืนยงสุข
dc.contributor.authorสุมภา เทิดขวัญชัย
dc.contributor.authorดวงรัตน์ แซ่ตั้ง
dc.date.accessioned2016-08-31T09:44:47Z
dc.date.available2016-08-31T09:44:47Z
dc.date.issued2016-08-31
dc.identifier.urihttp://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/1948
dc.descriptionรายงานการวิจัย (คศ.ม) -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2558en_US
dc.descriptionรายงานวิจัย -- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2558en_US
dc.description.abstractการประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมในผลิตภัณฑ์ไอศครีมและขนมหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไอศครีม เยลลี่ และแยมจากเปลือกแตงโมที่เหลือทิ้งมา ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ทางด้านประสาท สัมผัส และศึกษาการยอมรับของผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มจากไอศครีมแยมเปลือกแตงโม ทาการศึกษาสูตรพื้นฐาน พบว่า สูตรที่ 1 ผู้ทดสอบชิมชอบมาก และมีคุณสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงสูตรควบคุมมากที่สุด จากนั้นนาสูตรที่ 1 ไปศึกษาปริมาณแยมเปลือกแตงโมที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์ไอศครีมที่ปริมาณ 3 ระดับ คือ 20, 30 และ 40 กรัม จากการศึกษาระดับที่ 20 กรัม คุณสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงสูตรควบคุมมากที่สุด ค่าความหนืดของไอศครีม มิกซ์ร้อยละ 28.30 อัตราการขึ้นฟูหลังการปั่นแข็งร้อยละ 16.12 มีไขมันร้อยละ 15.11 โปรตีนร้อยละ 3.17 เส้นใย ร้อยละ 2.23 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 16.52 ความชื้นร้อยละ 62.45 และเถ้าร้อยละ 0.52 การศึกษาการยอมรับของ ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไอศครีมแยมเปลือกแตงโม ผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่คะแนนความชอบมากร้อยละ 41 เยลลี่เปลือกแตงโม ทาการศึกษาสูตรพื้นฐาน พบว่า สูตรที่ 1 ผู้ทดสอบชิมชอบมากที่สุด ศึกษาปริมาณ น้าเปลือกแตงโมทดแทนส่วนผสมของของเหลวทั้งหมดในส่วนผสมของเยลลี่ ซึ่งผู้ทดสอบชิมชอบน้าเปลือกแตงโม ในระดับร้อยละ 100 จากนั้นศึกษาการปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า สูตรที่ 2 ใช้น้าเข้มข้นร้อยละ 7 ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัสในทุกๆด้าน ศึกษาระดับความหวานที่เหมาะสม ซึ่งผู้ทดสอบชิมชอบ ปริมาณน้าตาลทราย 7 กรัมของสูตรที่ 1 มากที่สุด ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ได้ความพึง พอใจชอบปานกลางร้อยละ 49 การศึกษาเปรียบเทียบเยลลี่จากท้องตลาดกับเยลลี่จากเปลือกแตงโม พบว่า ค่าสี ของผลิตภัณฑ์เยลลี่เปลือกแตงโมมีสีแดงอ่อนกว่า ค่าปริมาณน้าอิสระ(Aw)ทีค่ามากกว่า ค่าปริมาณความชื้นมีค่าไม่ แตกต่างกัน ค่าความเป็นกรดด่าง มีความเป็นกรดสูงมากกว่าผลิตภัณฑ์เยลลี่จากท้องตลาด และการศึกษาอายุการ เก็บรักษา พบว่า เยลลี่เปลือกแตงโมเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มีอายุการเก็บรักษาอยู่ที่ 4 สัปดาห์ แยมเปลือกแตงโม จากการศึกษาสูตรพื้นฐาน พบว่า สูตรที่ 1 ผู้ทดสอบชิมชอบมากที่สุด นามาศึกษา อัตราส่วนเปลือกแตงโม(ปั่น)และเปลือกแตงโม(สับ)ที่เหมาะสม คือ ที่ 3:2 ส่วน เนื่องจากมีการกระจายตัวกันของ แยมกาลังดีในการแผ่บนแผ่นขนมปัง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะคุณภาพของแยมเปลือกแตงโมที่ทาการ เพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายในน้าที่ 68 องศาบริกซ์ จากเดิม 65 องศาบริกซ์ พบว่า ค่าสี มีสีเขียวอมเหลืองเข้มขึ้น เล็กน้อย ค่าความเป็นกรดด่าง มีความเป็นกรดสูงขึ้นเล็กน้อย การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ได้ความพึงพอใจชอบปานกลางร้อยละ 41 จากนั้นศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของแยม ท้องตลาด 2 ชนิด กับแยมเปลือกแตงโม พบว่า ค่าปริมาณน้าอิสระ(Aw) ของแยมเปลือกแตงโมสูงกว่า ค่าปริมาณ ความชื้นมีค่ามากกว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) มีค่าอยู่ที่ 3.33 ปริมาณเส้นใยหยาบมีปริมาณอยู่ร้อยละ 1.58 ซึ่ง มากกว่าแยมท้องตลาด และศึกษาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์แยมเปลือกแตงโม คือ ขวดแก้ว แบบมีฝา ปิดสนิท น้าหนักสุทธิ 220 กรัมen_US
dc.description.sponsorshipRajamangala University of Technology PhraNakhonen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectDesserten_US
dc.subjectIce creamen_US
dc.subjectของหวานen_US
dc.subjectไอศครีมen_US
dc.titleApplication of Watermelon Rinds for lce-cream and Desserts.en_US
dc.title.alternativeการประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและขนมหวานen_US
dc.typeResearch Reporten_US
dc.contributor.emailauthornopporn.s@rmutp.ac.th
dc.contributor.emailauthorsumapar.t@rmutp.ac.th
dc.contributor.emailauthorduangrat.s@rmutp.ac.th
dc.contributor.emailauthorarit@rmutp.ac.then_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record