การทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli และ Salmonella spp. ของสารสกัดจากหอมหัวใหญ่
View/ Open
Date
2016-09-08Author
Soteyome, Thanapop
ธนภพ โสตรโยม
Pedcharat, kasarin
เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์
Sakulyunyongsuk, Nopporn
นพพร สกุลยืนยงสุข
Tungsatitporn, Duangkamol
ดวงกมล ตั้งสถิตพร
Duangrat, Saetang
ดวงรัตน์ แซ่ตั้ง
Chongpraseart, Kitti
กิตติ ช้องประเสริฐ
Metadata
Show full item recordAbstract
จากการศึกษาการสกัดสารสกัดหยาบจากหอมหัวใหญ่ ด้วยวิธีการแช่ยุ่ย (marceration) โดยใช้ตัวทาละลาย 3 ชนิด คือเฮกเซน , เอทานอล และเมทานอล พบว่าการสกัดสารสกัดหยาบจากหอมหัวใหญ่ที่มีน้าหนักแห้ง 2 กิโลกรัม จะได้ปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดได้จากตัวทาละลายทั้ง 3 ชนิด เท่ากับ 1.305 3.260 และ1.306กรัมตามลาดับ จากการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli และ Salmonella spp. ของสารสกัดหอมหัวใหญ่โดยใช้ตัวทาละลาย คือ เอทานอล, เฮกเซน และเมทานอล พบว่า สารสกัดที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ในการยั้บยั้งการเจริญของ Escherichia coli ได้ โดยมีขนาดของวงใสเท่ากับ 6 มิลลิเมตรแต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella spp. ค่าความเข้มข้นต่าสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Escherichia coli จากการคัดเลือกผลจากวิธี disc diffusion techniques ซึ่งพบว่าสารสกัดหอมหัวใหญ่ที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli ได้ จึงทาการศึกษาหาค่าความข้มข้นต่าสุด(MIC) ของสารสกัดที่สกัดด้วยเอทานอลในการยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli ด้วยวิธี Macro broth dilution technique พบว่า ที่ความเข้มข้นของสารสกัดหอมหัวใหญ่เท่ากับ 25 50 และ 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีการตกตะกอนของสารสกัด แลสารละลายด้านบนมีลักษณะใส แสดงว่า Escherichia coli ไม่สามารถเจริญได้ เมื่อเปรียบเทียบกับที่ความเข้มข้นที่น้อยกว่า 12.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งสารละลายขุ่นทั้งหลอด แสดงว่า Escherichia coli สามารถเจริญได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ค่าความเข้มข้นต่าสุด (MIC) ของสารสกัดที่สกัดด้วยเอทานอลในการยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli เท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
Collections
- Research Report [248]