The Study of extraction method of blooming lotus extracts
View/ Open
Date
2017-11-06Author
Soteyome, Thanapop
Kee-ariyo, Chayapat
Pedcharat, Kasarin
Techotirodt, Duangsuda
ธนภพ โสตรโยม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์
ดวงสุดา เตโชติรส
นพพร สกุลยืนยงสุข
ดวงกมล ตั้งสถิตพร
ดวงรัตน์ แซ่ตั้ง
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษาวิธีการสกัดน้ำปรุงทิพย์จากดอกบัวบานโดยศึกษาดอกบัวทั้ง 4 ชนิด คือ ดอกบัวหลวง ดอกบัวตอง ดอกบังคู่ ดอกบัวฉลองขวัญ ซึ่งจะศึกษาหาดอกบัวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อหาว่าในจำนวน 4 ชนิดนี้ ชนิดใดให้กลิ่น รสชาติที่ดีที่สุด จากการศึกษาต้องทำการสกัดดอกบัวทั้ง 4 ชนิด ด้วยการแช่เอทานอล ทิ้งไว้ 3 วันเมื่อครบ 3 วัน ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำ โดยแยกกากทิ้ง น้ำไประเหยเอทานอล โดยใช้เครื่อง Buchi Rotavapor ใช้เวลาในการระเหยทั้งหมดตัวอย่างละ 2 ชั่วโมง เมื่อเรียบร้อยแล้วเก็บสารสกัดไว้ในขวดสีชา ปิดฝาให้สนิท ที่อุณภูมิ2-4 C ในส่วนของการเตรียม จะต้องทำการหั่นดอกบัวให้เป็นแบบลูกเต๋าขนาด 1 นิ้ว แล้วนำมาแยกใส่ภาชนะ โดยนำดอกบัวที่สกัดได้ทั้ง 4 ชนิด มาหยดลงในน้ำ โดยแบ่งจำนวนของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสารสกัดดอกบัวฉลองขวัญเป็น 0.11, 0.22, 0.33 และ0.44 ml. ตามลำดับ ทำเช่นเดียวกันทั้ง 4 ชนิด แล้วปิดฝาภาชนะให้มิดชิด เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 3 วัน จึงมาตรวจดูว่าดอกบัวชนิดใดมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
จากผลผลการทดลองพบว่า ในจำนวนดอกบัวทั้ง 4 ชนิดนี้ ดอกบัวที่มีประสิทธิภาพด้าน สีกลิ่น รส และการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุดได้มากที่สุดเรียงลำดับไปถึงน้อยที่สุด คือ ดอกบัวฉลองขวัญ ดอกบัวหลวง ดอกบัวตอง ดอกบังคู่ ตามลำดับ
Collections
- Research Report [248]